สองสามวันก่อนผมได้ไปอ่านเจอข่าวๆ นึงซึ่งเนื้อหาในข่าวบอกประมาณว่า
"มีผู้ปกครองลืมลูกทิ้งไว้ในรถตั้งแต่เช้าจนถึงบ่าย แล้วพอนึกขึ้นได้ก็รีบไปดูลูกที่อยู่ในรถที่จอดตากแดดแล้วปรากฎว่าคุณลูกได้หมดสติไปแล้ว เมื่อพามาถึงโรงพยาบาลก็พบว่าลูกเป็นโรคลมแดดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วตอนนี้อาการยังอยู่ในขั้นโคม่า"ผมก็เลยลองไปค้นหาข้อมูลดูและพบว่าไอ้เจ้าโรคลมแดด หรือที่เรียกกันในภาษาปะกิตว่า Heat Stroke เนี่ยมันเป็นโรคที่ถือเป็นภัยเงียบเลยก็ว่าได้ เพราะเนื่องจากคนที่เป็นโรคนี้ถือได้ว่าน้อยมากดังนั้นการรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ก็ถือได้ว่าน้อยตามกันไป
สาเหตุของโรคลมแดด
เกิดจากร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับความร้อนที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกร่างกายได้
อาการของโรคลมแดด
- มีอุณหภูมิในร่างกายสูงกว่า 41 องศาเซลเซียส
- ผู้ป่วยอาจมีเหงื่อมาก (ในผู้ป่วยที่มีร่างกายแข็งแรงมาก่อนหรือออกกำลังกายเกินตัว) และไม่มีเหงื่อออกเลย (ในผู้ป่วยที่มีอายุมากหรือเด็กเล็กรวมไปถึงผู้ที่เสพโคเคน)
- ร่างกายอาจเกิดภาวะขาดน้ำ ร่างกายอ่อนเพลีย
- มีการเคลื่อนไหวผิดปกติของตาเช่น ตากระตุก ตาเหลือกไปด้านใดด้านหนึ่ง ม่านตาขยายหดเองได้ (ปกติม่านตาจะขยายในที่มืดและหดในที่สว่าง)
- ชีพจรเต้นเร็ว หรือบางรายอาจจะมีความดันโลหิตต่ำจนถึงหัวใจวายได้
- มักเกิดเลือดออกในกระเพาะอาหาร และอาจจะพบอาการตับวาย (ซึ่งตับวายอาจจะทำให้ตัวเหลืองตาเหลืองได้)
- มีอาการเกร็งหรือกระตุกของกล้ามเนื้อหรืออาจจะเกิดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเกิดขึ้นได้
- ไตวายเฉียบพลันซึ่งมีผลมาจากการขาดน้ำอย่างรุนแรง อาจจะฉี่มีสีข้นขึ้นจนอาจจะเป็นสีชาๆ คล้ายๆ โค้กจนถึนฉี่มีสีแดงเลย
โดยไล่ตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนถึงรุนแรง
- เกิดอาการบวมน้ำ
- เกิดผดขึ้นตามร่างกาย
- เป็นตะคริว
- มีอาการเกร็งกระตุกคล้ายๆ อาการชัก
- เป็นลมหมดสติ
- โคม่าไม่รู้สึกตัว (ถ้าเกิดอาการในขั้นนี้อันตรายมากเพราะอาจจะทำให้ผู้ป่วยขาดออกซิเจนและอาจทำให้สมองตายได้)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยโรคลมแดด
- รีบส่งผู้ป่วยให้พบแพทย์ทันทีเมื่อพบเห็นหรือว่ามีความสงสัยว่าอาจจะเป็นโรคลมแดด
- ค่อยๆ ลดอุณหภูมิร่างกายลงโดยอาจจะทำการถอดเสื้อผ้าออก แล้วพ่นละอองน้ำจากฟอกกี้ หรือแม้กระทั่งเอาถุงน้ำแข็งวางบริเวณซอกรักแร้และขาหนีบทั้งสองข้าง
การป้องกันโรคลมแดด
0 comments:
Post a Comment